- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 9-15 พ.ค. 59
ข่าวสัปดาห์ 9-15 พ.ค. 2559
ถั่วเขียว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บีแต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,114.33 ดอลลาร์สหรัฐ (38.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,122.67 ดอลลาร์สหรัฐ (38.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 942.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 949.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,315.33 ดอลลาร์สหรัฐ (46.00 บาท/กิโลกรัม) ลดลง
จากตันละ 1,325.33 ดอลลาร์สหรัฐ (45.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,108.33 ดอลลาร์สหรัฐ (38.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,117.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวสัปดาห์ 9-15 พ.ค. 2559
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฏาคม 2559 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.89 เซนต์ (กิโลกรัมละ 47.49 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 63.20 เซนต์ (กิโลกรัมละ 48.96 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.66 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.47 บาท
9 - 15 พฤษภาคม 2559
ยางพารา
1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
คาดว่า ปริมาณผลผลิตในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมปี 2559 มีประมาณร้อยละ 20-30 จากทุกปีที่จะมีถึงร้อยละ 60- 80 ส่งผลให้โรงงานต่าง ๆ มีการขายน้อยลง เพราะไม่มียางส่งมอบ และคาดว่า ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง และนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และสต็อคยางจีนที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 305,178 ตัน (6 พฤษภาคม 2559) อย่างไรก็ตาม เงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า รวมทั้งปริมาณผลผลิตยางที่มีน้อยยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.42 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.00
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.92 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.42 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.67 บาท ลดลงจาก 26.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.03 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.86
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.05 บาท ลดลงจาก 23.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.99 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.30
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.49 บาท ลดลงจาก 56.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.74 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.30
ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4, ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.33 บาท ทรงตัวเท่ากับราคาของสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.18 บาท ทรงตัวเท่ากับราคาของสัปดาห์ที่ผ่านมา
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท ลดลงจาก 54.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.50 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.59
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.19 บาท ลดลงจาก 43.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.71
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.08 บาท ทรงตัวเท่ากับราคาของสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.93 บาท ทรงตัวเท่ากับราคาของสัปดาห์ที่ผ่านมา
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.75 บาท ลดลงจาก 54.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.50 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.61
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.94 บาท ลดลงจาก 43.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.72
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาตลาดล่วงหน้า TOCOM ปรับตัวลดลง จากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับภาวะ เศรษฐกิจสหภาพยุโรป จีน และสหรัฐฯ ชะลอตัว
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือนมีนาคม ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.8 จากเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการลดลงอย่างหนักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนยังคงซบเซา
ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศปรับตัวลดเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2559 จากร้อยละ 2.2 สู่ระดับร้อยละ 2.0 ปี 2560 ปรับลดจากระดับร้อยละ 2.4 สู่ระดับร้อยละ 2.3 และในปี 2561 จะมีการปรับลดจากระดับร้อยละ 2.5 สู่ระดับร้อยละ 2.3 นอกจากนี้ยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และมีมติคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์ และ BOE ระบุเตือนว่า หากอังกฤษตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป (EU) ในการลงประชามติ วันที่ 23 มิถุนายน 2559 จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้การว่างงานและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น รวมทั้งทำให้ค่าเงินปอนด์และมูลค่าสินทรัพย์ต่าง ๆ ทรุดตัวลง
เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญแรงกดดันในช่วงขาลง โดยภาคการผลิตของจีนเดือนเมษายนปรับตัวลงจากเดือนมีนาคมแตะที่ระดับ 49.4 และการขยายตัวของปริมาณเงินในระบบ M2 ได้ชะลอตัวลงจากเดือนมีนาคมเช่นกัน กรมศุลกากรจีนรายงานว่า การส่งออกเดือนเมษายนลดลง 1.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตามการนำเข้าเดือนเมษายนลดลงถึง 10.9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่งผลให้จีนได้ยอดการขาดดุลการค้ามากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่รัฐบาลจีนได้กำหนดการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับ 6.5% - 7.0% หลังจากร่วงแตะระดับ 6.9% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 25 ปี ในปีที่ผ่านมา
กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีการยื่นขอสวัสดิ์การณ์ว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 294,000 ราย (วันที่ 7 พฤษภาคม 2559) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ของปีที่ผ่านมา และนักวิเคราะห์ธุรกิจค้าปลีกสหรัฐฯ ระบุเตือนว่า ห้างค้าปลีกของสหรัฐฯ ประมาณ 1 ใน 3 มีแนวโน้มที่จะปิดกิจการลงในอนาคต
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.70 เซนต์สหรัฐฯ (63.14 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 180.28 เซนต์สหรัฐฯ (62.53 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.42 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 0.23
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 177.57 เยน (56.80 บาท) ลดลงจาก 180.40 เยน (59.26 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.83 เยน หรือลดลงร้อยละ 1.57
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.81 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 35.93
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.47 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.86 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.45
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 9 - 15 พ.ค. 2559
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,690 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.77
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,093 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,075 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.67
ข่าวสัปดาห์ 9 - 15 พ.ค. 59
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.74 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.99 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.42 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.21 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 378.76 เซนต์ (5,275 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 382.32 เซนต์ (5,289 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 14.00 บาท
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ค่อนข้างคึกคัก ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดแทบทุกพื้นที่ทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่ มากนัก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.95 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 67.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.45 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 72.16 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.06 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,600 (บวกลบ 76 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและแปรปรวนทำให้ไก่เนื้อเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.32 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 38.53 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.23 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาต่างๆ ยังปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคมีไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 283 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 286 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 296 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 275 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 303 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 348 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 351 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 359 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 335บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 354 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 103.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 104.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 110.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 104.75 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 99.26 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.59 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี